คำขวัญอำเภอเมืองลำปาง " เจดีย์ซาวงามเลิศ ชูเชิดวัดพระแก้ว แวะแอ่วบ้านเสานัก แวะพักเขื่อนกิ่วลม ชื่นชมพ่อเจ้าทิพย์ช้าง ลำปางเมืองรถม้า ลือชาถ้วยก๋าไก่ ยิ่งใหญ่ครูบาเกษมอิ่มเอมวิถีคนละกอน"

คลิกเลย >>>

 


นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ
รักษาราชการแทน
เกษตรอำเภอเมืองลำปาง

ข้อมูลทั่วไป

ทำเนียบเกษตรอำเภอ

ปฏิทินการเพาะปลูกพืช

แผนที่การปลูกพืชเศรษฐกิจ

แผนพัฒนาการเกษตรอำเภอเมืองลำปาง



 

 

คำสั่งสำนักงานเกษตรเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ที่ ๔/๒๕๖๖ เรื่อง ระบบสำหรับการปฏิบัติหน้าที่โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส

ประกาศสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง เรื่อง ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง กรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ. ๒๕๖๖

\

 



ระวัง หนอนเจาะฝักถั่ว ในถั่วฝักยาว

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศชื้นมีฝนตก เตือนผู้ปลูกถั่วฝักยาว ในระยะ ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือหนอนเจาะฝักถั่ว เมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินภายในดอกอ่อน ต่อมาจะกัดส่วนของดอกและเกสรทำให้ดอกร่วง เมื่อหนอนโตขึ้นจะเจาะเข้าไปกัดกินภายในฝัก ส่วนที่เป็นเมล็ดอ่อน ทำให้ฝักและเมล็ดลีบ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

๑. วิธีกล ก่อนปลูกพืชประมาณ ๒ สัปดาห์ ควรทำการไถพรวน และตากดิน เพื่อกำจัดดักแด้ที่อาจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก

๒. การใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส อัตรา ๖๐-๘๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

๓. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น เบตา-ไซฟลูทริน ๒.๕% อีซี อัตรา ๒๐-๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ เดลทาเมทริน ๓% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

 

 


ระวัง หนอนกระทู้หอม ในหอมแดง, หอมหัวใหญ่

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน และมีฝนตกบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกหอมแดง, หอมหัวใหญ่
ในระยะ เริ่มปลูก - พัฒนาหัว รับมือหนอนกระทู้หอม

หนอนกระทู้หอมจะเจาะเข้าไปอาศัยในใบหอมและกัดกินเนื้อเยื่อใบหอมทำให้ใบมีสีขาว และจะกัดกินไปถึงหัวหอมทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายเพื่อช่วยลดการระบาด

2.ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis (Bt)
อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (WDG, WG, WP) หรือ 60-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (SC)

3. ใช้นิวเคลียร์โพลีฮีโดรซีสไวรัส หรือ เอ็นพีวีหนอนกระทู้หอม อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นทุก 7 วัน เมื่อพบต้นที่มีรอยทำลายเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีพบการะบาดรุนแรง
มีความเสียหายเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ควรพ่นติดต่อกัน 2 ครั้งทุก 4 วัน

4. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น โทลเฟนไพแรด 16% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือ คลอฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG
อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SL อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
เมื่อพบกลุ่มไข่เฉลี่ย 0.5 กลุ่มต่อ 1 ตารางเมตร โดยการสุ่มนับแบบทแยงมุม 25 จุดต่อไร่
พ่นจนกว่าการทำลายจะลดลงต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์







ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลทุ่งฝาย
รับวิเคราะห์ ตรวจดิน
ติดต่อ กลุ่ม ศดปช. ต.ทุ่งฝาย
โทร 088-253-3460

ติดตามข่าวสาร : facebook เพจ



ข้าวไรซ์เบอร์รี่
สนใจสอบถามข้อมูลกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต
ข้าวไรซ์เบอร์รี่
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านหนองร่อง
กัญจวิภา ปิงวัง

081-7243794

ช่วงฤดูฝนสภาพอากาศจะมีความชื้นสูง ซึ่งเหมาะสมกับการระบาดของโรคพืชหลายชนิด
ไม่ว่าจะเป็นโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืชอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อเฝ้าระวังการระบาด และวางแผนการจัดการโรคพืชในแปลงปลูกให้ดี เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดจากการเข้าทำลายของโรคพืชเหล่านี้

โรคราน้ำค้าง
มักพบในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน
แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ

การระบาด : สภาพที่เหมาะสมของการเกิดโรคคือ ช่วงที่อากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง เชื้อราสาเหตุโรค สามารถแพร่ระบาดโดยลม น้ำ เครื่องมือทางการเกษตร และการเคลื่อนย้ายพืชปลูก โดยสามารถมีชีวิตอยู่ข้ามปีได้
การป้องกันกำจัด :
- หมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบพืชที่แสดงอาการ ให้เก็บส่วนที่เป็นโรคออกและนำไปทำลายทิ้งนอกแปลง
- คลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นก่อนปลูก
หากระบาดมากสามารถใช้สารเคมีไดเมโทมอร์ฟ ฉีดพ่นตามคำแนะนำ 

มักพบใน ต้นกล้าของพืชผักและพืชไร่

การระบาด : เชื้อราสาเหตุโรคสามารถแพร่กระจายจากการติดมากับเมล็ดพันธุ์ อยู่ในดินหรือแพร่กระจายโดยน้ำ
กรป้องกันกำจัด :
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ เมื่อพบต้นกล้าที่เป็นโรค ให้ถอนและนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที
- ใช้เมล็ดพันธุ์ดีปราศจากเชื้อโรคพืช และมีความงอกสูง ไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป เว้นระยะต้นให้แสงแดดสามารถส่องผ่านได้
- ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา
- วัสดุปลูกและแปลงปลูกควรสะอาด มีการระบายน้ำที่ดี อาจปรับสภาพดินในแปลงด้วยปูนขาว หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดินก่อนปลูก 

มักพบในผัก เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว และในไม้ดอก เช่น เบญจมาศ

การระบาด : ระบาดรุนแรงในฤดูฝนหรือช่วงอากาศชื้น
การป้องกันกำจัด :
- กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ หากพบโรคในปริมาณน้อยให้ถอน หรือตัดเผาทำลาย
- แปลงที่เกิดโรคระบาด ควรงดการให้น้ำแบบพ่นฝอย และไม่ควรให้น้ำจนชื้นแฉะเกินไป
- ใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาคลุกเมล็ดหรือหว่านลงแปลงก่อนปลูก หรือฉีดพ่นป้องกันกำจัดโรค อัตราตามคำแนะนำ
- หากระบาดรุนแรงสามารถใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมทาแลกซิล หรือแมนโคเซบ
อัตราตามคำแนะนำ 

มักพบในพืชผักตระกูลกระหล่ำ

การระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ความชื้นสูง เชื้อสาเหตุโรคสามารถแพร่กระจายตามน้ำ ลม แมลง สัตว์ เครื่องมือทางการเกษตรกร และเมล็ดพันธุ์ หรืออาศัยอยู่กับวัชพืชในแปลง
การป้องกันกำจัด :
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ เมื่อพบส่วนที่เป็นโรคให้เด็ดทิ้งและนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
- ปลูกพืชหมุนเวียน และมีการจัดการระบบน้ำที่ดี
- คลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นก่อนปลูก
- สามารถฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโดเดอร์มา เพื่อป้องกันกำจัดหรือเมื่อพบโรคในแปลง
- หากพบการระบาดรุนแรง สามารถฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดโรคพืช หรืออาจต้องมีการพักแปลง ตากดิน

พบในพืชพวกแตงชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงแคนตาลูบ (cantaloup) แตงไทย แตงโม ฟักแฟง ฟักทอง และแตงสควอซ (squash) เป็นต้น

การระบาด : สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูง ดินมีความชื้นสูง และฝนตกชุก จะทำให้โรคนี้ระบาดได้ดี
กรป้องกันกำจัด :
- หมั่นตรวจแปลงปลูก เมื่อพบโรคให้ถอนต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
- หลีกเลี่ยงการปลูกพืชในพื้นที่ที่เคยเกิดการระบาดมาก่อน หรือปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน
- แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ปลูกพืชแน่นเกินไป
- ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการเกษตร เพื่อป้องการเชื้อสาเหตุโรคไปยังต้นปกติ
- ก่อนปลูกควรไถกลับหน้าดินตากแดด และใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อรา
ไตรโคเดอร์มาในดินก่อนปลูก
- ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา สำหรับโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา
หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส สำหรับโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- หากพบการระบาดรุนแรงสามารถใช้สารเคมีในกรณีเกิดจากเชื้อรา เช่น เมตตาแลกซิล อัตราตามคำแนะนำ กรณีเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรพักแปลง ตากดิน ใส่ปูนขาว เพื่อลดการสะสมของเชื้อในดิน หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการเกิดโรค





เตือนภัยการระบาดหนอนกระทู้ Fall armyworm!!!













การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์








     
     
    

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง 
  339  หมู่ 6  ตำบลพระบาท  อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52000
โทร. 0 5423 0250    โทรสาร 0 5423 0250
 
Facebook:สนง.เกษตร อำเภอเมืองลำปาง
E-mail : mueanglampang303@gmail.com
webmaster :Pattrapon Thipyotha