คำขวัญอำเภอเมืองลำปาง " เจดีย์ซาวงามเลิศ ชูเชิดวัดพระแก้ว แวะแอ่วบ้านเสานัก แวะพักเขื่อนกิ่วลม ชื่นชมพ่อเจ้าทิพย์ช้าง ลำปางเมืองรถม้า ลือชาถ้วยก๋าไก่ ยิ่งใหญ่ครูบาเกษมอิ่มเอมวิถีคนละกอน"

คลิกเลย >>>

 

ข้อมูลทั่วไป

ทำเนียบเกษตรอำเภอ

แผนพัฒนาการเกษตรอำเภอเมือง

ปฏิทินการเพาะปลูกพืช

แผนที่การปลูกพืชเศรษฐกิจ



 

 


ร่วมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน
ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ ตำบลบ้านเอื้อม
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 น. นายสงกรานต์ ดวงอ้าย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ร่วมกับทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน
ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ ตำบลบ้านเอื้อม
ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 9 ครัวเรือน
ณ หมู่ที่ 5 บ.ทุ่งกล้วย ต.บ้านเอื้อม อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง
ในส่วนครัวเรือนเกษตรกร เจ้าหน้าที่เกษตรประจำตำบลได้มอบเมล็ดพันธุ์ผัก
จำนวน 5 ชนิด พร้อมให้คำแนะนำการปลูกและการดูแลรักษา
เพื่อให้สามารถเก็บผลิตไว้บริโภคและลดรายจ่ายในครัวเรือน

ติดตามการดำเนินงาน ศบกต.พระบาท
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ได้ติดตาม?การดำเนินงานของ?ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระ?บาท? พร้อมทั้งแนะนำการใช้เชื้อราไตรโคเด?อร์มา?เพื่อ?ป้องกันกำจัด?เชื้อราโรคพืช?
ณ? สวนพอเพียง? บ้านหนองห้าตะวัน?ออก? หมู่? 5? ตำบล?พระ?บาท? อำ?เภอเมือง?ลำ?ปาง? จังหวัด?ลำ?ปาง

เยี่ยมเยียนสวนแชมป์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอเมืองลำปาง
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ได้เยี่ยมเยียนแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนแชมป์ โดยมีกิจกรรมการปลูกพืชผักปลอดภัย การปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน ไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งให้บริการร้านกาแฟและเครื่องดื่ม
ณ สวนแชมป์ หมู่ 7 ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง



ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่อนกิ่วลม
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 นางสาวขวัญกมล ปิงสมุทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ได้ติดตามสถานณ์น้ำในเขื่อนกิ่วลม ตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พบว่าอยู่ในสถานการณ์ปกติ

ติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในนาข้าว ตำบลบ้านแลง
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 นางสาวขวัญกมล ปิงสมุทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ได้ติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในนาข้าว หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดบำปาง พบการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟข้าว เพลี้ยกระโดดหลังขาว และโรคไหม้ พร้อมทั้งได้ให้คำแนะนำกำจัดตามหลักวิชาการให้เกษตรกรทราบแล้ว

ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2566
วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2566 พร้อมทั้งตรวจสอบรายชื่อและสำรวจความต้องการเข้าร่วมโครงการฯ
ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านเวียงทอง (บ้านบนสวรรค์) หมู่ที่ 13 ต.นิคมพัฒนา อ.เมืองลำปาง จากการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนในการฝึกอบรมเพื่อเพัฒนาอาชีพ (ด้านพืช) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความสนใจในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชไร่ และพื้นที่ว่างเปล่า เป็นไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น มะขามเปรี้ยวยักษ์ มะยงชิด มะม่วง และสัก เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดรายจ่าย และช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรต่อไปในอนาคต

ประชุมชี้แจงโครงการด้านการเกษตร ตำบลบุญนาคพัฒนา
วันที่ 14 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00 น. นายคิมหันต์ สิงห์ไชย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ได้ประชุมชี้แจงโครงการด้านการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2565 แก่เกษตรกรตำบลบุญนาคพัฒนา
ณ บ้านใหม่รัตนาคม หมู่ 9 ตำบลบ้านบุญนาคพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ประชุมชี้แจงโครงการด้านการเกษตร ตำบลบุญนาคพัฒนา
วันที่ 14 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 น. นายคิมหันต์ สิงห์ไชย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ได้ประชุมชี้แจงโครงการด้านการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง
การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2565 แก่เกษตรกรตำบลบุญนาคพัฒนา
ณ บ้านแลง หมู่ 2 ตำบลบ้านบุญนาคพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ร่วมโครงการ "ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ" โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร
วันที่ 11 สิงหาคม 2565 นายไพโรจน์ จินากุล เกษตรอำเภอเมืองลำปาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการ
"ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ" และร่วมจัดนิทรรศการ ส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมโรคข้าวให้แก่นักเรียนและผู้เข้าร่วมงาน
ณ บริเวณแปลงนาข้าว โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร
ตำบลบ่อแฮ้ว จังหวัดลำปาง

ส่งเสริมการขยายเชื้อและวิธีการใช้ไตรโคเดอร์มา กลุ่มยุวเกษตรกร โรงเรียนบ้านสบค่อม

วันที่ 11 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ได้ให้ความรู้ในการขยายเชื้อและวิธีการใช้ไตรโคเดอร์มา ให้แก่นักเรียนกลุ่มยุวเกษตรกร โรงเรียนบ้านสบค่อม หมู่ 1 ตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากท่านอินจันทร์ กองจินา
ผู้อำนวยการและคณะครูโรงเรียนบ้านสบค่อมในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นอย่างดี


วางแผนการจัดนิทรรศการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ได้ร่วมกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร
วางแผนการจัดนิทรรศการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ในนาข้าวในแปลงเรียนรู้การปลูกข้าวของโรงเรียน เนื่องในโครงการ "ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ"
ซึ่งมีกำหนดจัดขึ่นในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเขลางค์นคร ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ส่งเสริมการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า แก่เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว ตำบลบ้านเอื้อม
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ได้ส่งเสริมการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า แก่เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว ตำบลบ้านเอื้อม เพื่อนำไปใช้ป้องกันกำจัดโรคพืชจากเชื้อรา ทดแทนการใช้สารเคมีและเป็นการลดต้นทุนการผลิตแก่เกษตรกร
ณ วัดทุ่งกล้วย หมู่ 12 ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ป็นวิทยากร "เกษตรน่ารู้" โครงการศูนย์ผู้สูงวัย เทศบาลเมืองเขลางค์นคร
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00-12.00 น. นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ
เรื่อง เกษตรน่ารู้ ตามโครงการศูนย์ผู้สูงวัย เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ประจำปีงบประมาณ 2565
ณ ศูนย์ผู้สูงวัยเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ชี้แจงการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปีการเพาะปลูก 2565 ตำบลชมพู
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนักศึกษาฝึกงาน ได้ชี้แจงการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
ปีการเพาะปลูก 2565 ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้านกาดเมฆ
หมู่ 5 ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

เก็บข้อมูลโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) ปี 2565
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 น. เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ได้จัดเวทีชุมชนเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และประเมินสถานการณ์ของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว ตำบลบ้านเอื้อม พร้อมได้สัมภาษณ์เกษตรกร เรื่อง การตรวจวิเคราะห์ดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
(Routine to Research : R2R) ปี 2565
ณ ศาลาวัดทุ่งกล้วย หมู่ 12 ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

เยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลนิคมพัฒนา
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 นางดลยา ใจจะดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้ปลูกผัก บ้านวังทอง หมู่ที่ 6 ต.นิคมพัฒนา นางขันแก้ว ตามซื่อ ซึ่งมีอาชีพปลูกผักเพื่อจำหน่าย โดยในฤดูนี้มีการปลูก พริกหนุ่มเขียว และแตงไทยอ่อน (แตงลายอ่อน) เกษตรกรให้ข้อมูลว่าแตงไทยอ่อนไม่ค่อยมีคนนิยมปลูกเนื่องจากเก็บผลผลิตยาก และมีลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่เนื่องจากมีราคาดีกว่า ประกอบกับต้นทุนไม่สูงมาก ตนจึงสนใจปลูก โดยผลผลิตเกษตรกรจะนำไปจำหน่ายยังพ่อค้าแม่ค้า ในตลาดหลักเมืองลำปาง ปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 10 - 12 บาท ในการปลูก 1 รอบ จะสามารถเก็บผลผลิตได้ ประมาณ 2 เดือน หลังจากเก็บเกี่ยวแตงไทยอ่อนหมดแล้ว ก็จะทำการปลูกพืชผักอื่นๆหมุนเวียนกันในพื้นที่
เช่น พริกชี้ฟ้า ฟักทอง เป็นต้น

เยี่ยมเยียนและติดตามแปลงปลูกพืชผักอินทรีย์ และเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน GAP ตำบลชมพู
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. นางสาวเมธวรรณ ธรรมนูญ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ได้ติดตามเยี่ยมเยียนแปลงปลูกพืชผักอินทรีย์ และเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน GAP ของนายธนกร ยาพุฒสืบ เกษตรกรในกลุ่มอินทรีย์ PGS เวียงดิน
ณ บ้านลำปางกลาง หมู่ 11 ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ร่วมจัดนิทรรศการ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2565
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 เวลา 8.30 น. นายไพโรจน์ จินากุล เกษตรอำเภอเมืองลำปาง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองลำปาง จัดนิทรรศการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชินีพันปีหลวง เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2565 ณ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านทุ่งกล้วย ต.บ้านเอื้อม อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง โดยมีนายธนารัฐ สายเทพ นายอำเภอเมืองลำปาง เป็นประธานในพิธี

เยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ตำบลนิคมพัฒนา
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 นางดลยา ใจจะดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ (ไก่สามสายพันธุ์) นางจันทร์เพ็ญ ตามเวลา ณ จันทร์เพ็ญฟาร์ม หมู่ที่ 4 ต.นิคมพัฒนา อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง ซึ่งมีการเลี้ยงไก่สามสายพันธุ์เพื่อจำหน่าย แบ่งเป็นรุ่นๆ รุ้นละ 3,000 ตัว - 9,000 ตัว เกษตรกรมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับบริษัทเอกชน ซึ่งมีการตกลงราคาซื้อขายล่วงหน้าตามราคาของตลาดกลาง นอกจากจำหน่ายไก่แล้ว ยังมีการจำหน่ายมูลไก่ด้วย ในราคา กระสอบละ 25 บาท ได้แนะนำให้เกษตรกรไปแจ้งขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเพื่อสิทธิประโยชน์ในการขอรับการช่วยเหลือตามมาตรการต่างๆ

ร่วมวางแผนโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตำบลนิคมพัฒนา
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 นายไพโรจน์ จินากุล เกษตรอำเภอเมืองลำปาง มอบหมายให้ นางดลยา ใจจะดี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่ปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านบ้านเวียงทอง หมู่ที่ 13 ต.นิคมพัฒนา อ.เมืองลำปาง เพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อม ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือเกษตรกร และผู้ครอบครองที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเองกิ่วลม ตำบลนิคมพัฒนา จำนวน 67 ราย

ติดตามการปลูกข้าวโพดของเกษตรกร โครงการอ่างเก็บน้ำแม่นึง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง ปี 2565 ตำบลบ้านค่า
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 นายอภิวัฒน์ เมืองมูล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ได้ติดตามแปลงข้าวโพดของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอ่างเก็บน้ำแม่นึง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง ปี 2565 พบว่าเกษตรกรมีการปลูกข้าวโพดหลายชนิดทั้ง ข้าวโพดฝักอ่อน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเกษตรกรสามารถจัดการแปลงได้อย่างเหมาะสม และพบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จึงได้แนะนำให้เกษตรกรป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรเพื่อควบคุมการระบาด
ณ พื้นที่การเกษตรตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความจน
และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ
(ศจพ.อ.) ครั้งที่ 3/2565
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 นางวาสนา สุยะหมุด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ ได้ร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความจน
และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.) ครั้งที่ 3/2565
โดยมี นางยุพาภรณ์ แก้วจิตคงทอง ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานทะเบียนและบัตร เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ประชุมวางแผนการปฏิบัติงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R)
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง ได้ประชุมวางแผนการปฏิบัติงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) ปีงบประมาณ 2565 พร้อมวางแผนการจัดเก็บข้อมูลกับเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง หัวข้อวิจัย แนวทางการการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยสั่งตัด ณ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ร่วมการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ
ศูนย์บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ระดับอำเภอ
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 นายไพโรจน์ จินากุล เกษตรอำเภอเมืองลำปาง ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ
ศูนย์บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ระดับอำเภอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
โดยมี นายเกษม ใจจันทร์ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มบริหารงานปกครอง เป็นประธานการประชุม
ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

 

 



ระวัง หนอนเจาะฝักถั่ว ในถั่วฝักยาว

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศชื้นมีฝนตก เตือนผู้ปลูกถั่วฝักยาว ในระยะ ทุกระยะ การเจริญเติบโต รับมือหนอนเจาะฝักถั่ว เมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินภายในดอกอ่อน ต่อมาจะกัดส่วนของดอกและเกสรทำให้ดอกร่วง เมื่อหนอนโตขึ้นจะเจาะเข้าไปกัดกินภายในฝัก ส่วนที่เป็นเมล็ดอ่อน ทำให้ฝักและเมล็ดลีบ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

๑. วิธีกล ก่อนปลูกพืชประมาณ ๒ สัปดาห์ ควรทำการไถพรวน และตากดิน เพื่อกำจัดดักแด้ที่อาจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก

๒. การใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส อัตรา ๖๐-๘๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

๓. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น เบตา-ไซฟลูทริน ๒.๕% อีซี อัตรา ๒๐-๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ เดลทาเมทริน ๓% อีซี อัตรา ๒๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

 

 


ระวัง หนอนกระทู้หอม ในหอมแดง, หอมหัวใหญ่

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน และมีฝนตกบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกหอมแดง, หอมหัวใหญ่
ในระยะ เริ่มปลูก - พัฒนาหัว รับมือหนอนกระทู้หอม

หนอนกระทู้หอมจะเจาะเข้าไปอาศัยในใบหอมและกัดกินเนื้อเยื่อใบหอมทำให้ใบมีสีขาว และจะกัดกินไปถึงหัวหอมทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายเพื่อช่วยลดการระบาด

2.ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis (Bt)
อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (WDG, WG, WP) หรือ 60-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (SC)

3. ใช้นิวเคลียร์โพลีฮีโดรซีสไวรัส หรือ เอ็นพีวีหนอนกระทู้หอม อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นทุก 7 วัน เมื่อพบต้นที่มีรอยทำลายเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีพบการะบาดรุนแรง
มีความเสียหายเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ควรพ่นติดต่อกัน 2 ครั้งทุก 4 วัน

4. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น โทลเฟนไพแรด 16% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือ คลอฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG
อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SL อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
เมื่อพบกลุ่มไข่เฉลี่ย 0.5 กลุ่มต่อ 1 ตารางเมตร โดยการสุ่มนับแบบทแยงมุม 25 จุดต่อไร่
พ่นจนกว่าการทำลายจะลดลงต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์







ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลทุ่งฝาย
รับวิเคราะห์ ตรวจดิน
ติดต่อ กลุ่ม ศดปช. ต.ทุ่งฝาย
โทร 088-253-3460

ติดตามข่าวสาร : facebook เพจ



ข้าวไรซ์เบอร์รี่
สนใจสอบถามข้อมูลกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต
ข้าวไรซ์เบอร์รี่
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านหนองร่อง
กัญจวิภา ปิงวัง

081-7243794

ช่วงฤดูฝนสภาพอากาศจะมีความชื้นสูง ซึ่งเหมาะสมกับการระบาดของโรคพืชหลายชนิด
ไม่ว่าจะเป็นโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืชอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อเฝ้าระวังการระบาด และวางแผนการจัดการโรคพืชในแปลงปลูกให้ดี เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดจากการเข้าทำลายของโรคพืชเหล่านี้

โรคราน้ำค้าง
มักพบในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน
แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ

การระบาด : สภาพที่เหมาะสมของการเกิดโรคคือ ช่วงที่อากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง เชื้อราสาเหตุโรค สามารถแพร่ระบาดโดยลม น้ำ เครื่องมือทางการเกษตร และการเคลื่อนย้ายพืชปลูก โดยสามารถมีชีวิตอยู่ข้ามปีได้
การป้องกันกำจัด :
- หมั่นสำรวจแปลงปลูก หากพบพืชที่แสดงอาการ ให้เก็บส่วนที่เป็นโรคออกและนำไปทำลายทิ้งนอกแปลง
- คลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นก่อนปลูก
หากระบาดมากสามารถใช้สารเคมีไดเมโทมอร์ฟ ฉีดพ่นตามคำแนะนำ 

มักพบใน ต้นกล้าของพืชผักและพืชไร่

การระบาด : เชื้อราสาเหตุโรคสามารถแพร่กระจายจากการติดมากับเมล็ดพันธุ์ อยู่ในดินหรือแพร่กระจายโดยน้ำ
กรป้องกันกำจัด :
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ เมื่อพบต้นกล้าที่เป็นโรค ให้ถอนและนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที
- ใช้เมล็ดพันธุ์ดีปราศจากเชื้อโรคพืช และมีความงอกสูง ไม่หว่านเมล็ดแน่นเกินไป เว้นระยะต้นให้แสงแดดสามารถส่องผ่านได้
- ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา
- วัสดุปลูกและแปลงปลูกควรสะอาด มีการระบายน้ำที่ดี อาจปรับสภาพดินในแปลงด้วยปูนขาว หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดินก่อนปลูก 

มักพบในผัก เช่น ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว และในไม้ดอก เช่น เบญจมาศ

การระบาด : ระบาดรุนแรงในฤดูฝนหรือช่วงอากาศชื้น
การป้องกันกำจัด :
- กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ หากพบโรคในปริมาณน้อยให้ถอน หรือตัดเผาทำลาย
- แปลงที่เกิดโรคระบาด ควรงดการให้น้ำแบบพ่นฝอย และไม่ควรให้น้ำจนชื้นแฉะเกินไป
- ใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มาคลุกเมล็ดหรือหว่านลงแปลงก่อนปลูก หรือฉีดพ่นป้องกันกำจัดโรค อัตราตามคำแนะนำ
- หากระบาดรุนแรงสามารถใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมทาแลกซิล หรือแมนโคเซบ
อัตราตามคำแนะนำ 

มักพบในพืชผักตระกูลกระหล่ำ

การระบาด : ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ความชื้นสูง เชื้อสาเหตุโรคสามารถแพร่กระจายตามน้ำ ลม แมลง สัตว์ เครื่องมือทางการเกษตรกร และเมล็ดพันธุ์ หรืออาศัยอยู่กับวัชพืชในแปลง
การป้องกันกำจัด :
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ เมื่อพบส่วนที่เป็นโรคให้เด็ดทิ้งและนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
- ปลูกพืชหมุนเวียน และมีการจัดการระบบน้ำที่ดี
- คลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นก่อนปลูก
- สามารถฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโดเดอร์มา เพื่อป้องกันกำจัดหรือเมื่อพบโรคในแปลง
- หากพบการระบาดรุนแรง สามารถฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดโรคพืช หรืออาจต้องมีการพักแปลง ตากดิน

พบในพืชพวกแตงชนิดต่างๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงแคนตาลูบ (cantaloup) แตงไทย แตงโม ฟักแฟง ฟักทอง และแตงสควอซ (squash) เป็นต้น

การระบาด : สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูง ดินมีความชื้นสูง และฝนตกชุก จะทำให้โรคนี้ระบาดได้ดี
กรป้องกันกำจัด :
- หมั่นตรวจแปลงปลูก เมื่อพบโรคให้ถอนต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
- หลีกเลี่ยงการปลูกพืชในพื้นที่ที่เคยเกิดการระบาดมาก่อน หรือปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน
- แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ปลูกพืชแน่นเกินไป
- ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการเกษตร เพื่อป้องการเชื้อสาเหตุโรคไปยังต้นปกติ
- ก่อนปลูกควรไถกลับหน้าดินตากแดด และใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน หรือใส่ปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อรา
ไตรโคเดอร์มาในดินก่อนปลูก
- ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา สำหรับโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา
หรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส สำหรับโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- หากพบการระบาดรุนแรงสามารถใช้สารเคมีในกรณีเกิดจากเชื้อรา เช่น เมตตาแลกซิล อัตราตามคำแนะนำ กรณีเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรพักแปลง ตากดิน ใส่ปูนขาว เพื่อลดการสะสมของเชื้อในดิน หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการเกิดโรค







เตือนภัยการระบาดหนอนกระทู้ Fall armyworm!!!











การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์








     
     
    

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปาง 
  339  หมู่ 6  ตำบลพระบาท  อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52000
โทร. 0 5423 0250    โทรสาร 0 5423 0250
 
Facebook:สนง.เกษตร อำเภอเมืองลำปาง
E-mail : mueanglampang303@gmail.com
webmaster :Pattrapon Thipyotha